ความหมายของยาเสพติด
ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือสารที่สังเคราะห์ขึ้นเมี่อนำเข้าสู้ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน
ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้
หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลายๆ ครั้ง .. .
ลักษณะสำคัญของสารเสพติด
จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้ เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สาร
นั้นในประมาณมากขึ้น เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเองและ ครอบครัว
ผู้อื่นตลอดจนสังคม และประเทศชาติ
แหล่งกำเนิดของยาเสพติด แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ
• ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา • ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เป็นต้น

วิธีการเสพยาเสพติด กระทำได้หลายวิธี ดังนี้คือ
# สอดใต้หนังตา # สูบ # ดม # รับประทานเข้าไป # อมไว้ใต้ลิ้น # ฉีดเข้าเหงือก # ฉีดเข้าเส้นเลือด # ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ # เหน็บทางทวารหนัก
ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในประเทศไทย ได้แก่ ยาบ้า ยาอี ยาเลิฟหรือเอ็กซ์ตาซี ยาเค โคเคน เฮโรอีน กัญชา สารระเหย แอลเอสดี ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม เห็ดขี้ควาย …

# การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จะสังเกตได้จาก สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้งและแตก ร่างกายสกปรก เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนัง มีรอยกรีดด้วยของมีคม เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขนและท้องแขนชอบใส่เสื้อยาว กางเกงขายาว และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบังม่านตาที่ขยาย

# การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
สังเกตุได้จาก เป็นคนเจ้าอารมย์ หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
พูดจากร้าวร้าว ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น ทำตัวลึกลับ ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ ใช้เงินเปลืองผิดปกติ ทรัพย์สินในบ้านสูญหายบ่อย
พบอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายสกปรก
ไม่เรียบร้อย ไม่ค่อยอาบน้ำ ชอบออกนอกบ้านเสมอๆ และกลับบ้านผิดเวลา ไม่ชอบทำงาน เกียจคร้าน ชอบนอนตื่นสาย มีอาการวิตกกังวล เศร้าซึม สีหน้าหมองคล้ำ . . .. .
สาเหตุของการติดยาเสพติด มีหลายประการ ดังนี้คือ
•อยากลองอยากรู้
•ถูกเพื่อนชักชวน
•ถูกหลอกลวง
•เกิดจากความคนอง
•ภาวะสิ่งแวดล้อมรอบตัว
•ใช้เพื่อลดความเจ็บปวดทางกาย
โทษ/พิษภัยของยาเสพติด
การใช้ยาเสพติด มีโทษและพิษภัยรอบตัว นอกจากจะส่งผลกระทบในทางไม่ดีโดยตรงต่อตัวผู้เสพแล้วทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ยังส่งผลกระทบทางอ้อมไปยังครอบครัว ผู้เสพตลอดจนเศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติอีกด้วย
วิธีสังเกตุอาการผู้ติดยาเสพติด
จะสังเกตว่าผู้ใดใช้หรือเสพยาเสพติด ให้สังเกตจากอาการและการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจดังต่อไปนี้ .... .
ป้องกัน ยาเสพติด

1. ป้องกันตนเอง ไม่ทดลองยาเสพติดทุกชนิด และพยายามปลีกตัวออกห่างจากบุคคลหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ถ้ามีปัญหาหรือไม่สบายใจ
อย่าเก็บไว้คนเดียว ควรปรึกษาพ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬาหรือทำงานอดิเรกต่าง ๆ
ตามความสนใจและความถนัด ระมัดระวังในการใช้ยาต่าง ๆ และศึกษาให้เข้าใจถึงโทษภัยของยาเสพติด
2. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็ก และบุคคลในครอบครัวอย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษภัยของยาเสพติด ดูแลเรื่องการคบเพื่อน คอยส่งเสริมให้เขารู้จักการใช้เวลาในทางที่เป็นประโยชน์ เช่น การทำงานบ้าน เล่นกีฬา ฯลฯ เพื่อป้องกันมิให้เด็กหันเหไปสนใจในยาเสพติด สิ่งสำคัญก็คือทุกคนในครอบครัวควรสร้างความรัก ความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
3. ป้องกันชุมชน หากพบผู้ติดยาเสพติดควรช่วยเหลือแนะนำให้เข้ารับการบำบัดรักษาโดยเร็ว
โดยกฎหมายจะยกเว้นโทษให้ผู้ที่สมัครเข้าขอรับการบำบัดรักษาอาการติดยาเสพติด ก่อนที่ความผิดจะปรากฏต่อเจ้าหน้าที่
และเมื่อรู้ว่าใครกระทำผิดฐานนำเข้าส่งออก หรือจำหน่ายยาเสพติด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ศุลกากร
หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)
สถาน ที่ให้คำปรึกษาด้านป้องกัน และแนะนำการบำบัดรักษาขั้นต้น

1. สำนัก งานศึกษาป้องกันการติดยา (กระทรวงสาธารณสุข) 286 ถนนพระราม 6 พญาไท กรุงเทพ ฯ
2. สภา สังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ศูนย์อาสาสมัครยาเสพติด ตึกมหิดล กรุงเทพ ฯ
3. ศูนย์สุขวิทยาจิต พญาไท กรุงเทพ ฯ โทร. (02) 2815241
4. สมาคม สุขภาพจิตแห่งประเทศไทย กรุงเทพ ฯ โทร. (02) 2452733
5. สำนัก งานคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กรุงเทพ ฯ โทร. (02) 2459340-9
6. โรงพยาบาลตำรวจ แผนกจิตเวช กรุงเทพ ฯ โทร. (02) 2528111-7
7. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แผนกจิตเวช กรุงเทพ ฯ โทร. (02) 2461946
8. โรงพยาบาลธัญญา รักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โทร. (02) 5310080-8
9. โรง พยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรุงเทพ ฯ โทร. (02) 4681116-20
10. โรงพยาบาลทหารเรือ กรุงเทพ ฯ โทร. (02) 4112191
11. ศูนย์บริการ สาธารณสุข กรุงเทพ ฯ ลุมพินี ซอยปลุกจิตต์ ถ.วิทยุ โทร. (02) 2512970
12. ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพ ฯ สี่พระยา โทร. (02) 2364055
13. สำนักสงฆ์ถ้ำ กระบอก จ.สระบุรี
14. สำนักสงฆ์ถ้ำเขา ทะลุ จ.ราชบุรี
15. หน่วยงานบริการสังกัดกรมสุขภาพจิตทุกแห่ง

ที่มา http://www.suriyothai.ac.th/th/node/2052

Posted on October 2012, by Admin

Filed under Uncategorized | Edit | 28 Comments